วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคมุมกล้องกับการถ่ายทำหนังสั้น
เทคนิคมุมกล้อง
      การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้
เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
  ·       ภาพระดับสายตา คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น
 ขนานกับพื้นดิน ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดา
  ·       ภาพมุมต่ำ  การถ่ายภาพในมุมต่ำ คือ การถ่ายในต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ
จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า
  ·       การถ่ายภาพมุมสูง คือ การตั้งกล้องถ่ายในต่ำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ ภาพที่ได้จะให้
ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ

เทคนิคการซูมและการโพกัส
1.ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้วีดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง
2.หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน
 แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์
3.อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่มเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก
ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทรกกำแพงโป๊กๆที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการ
ดูรายละเอียดของเหตุการณ์ เพื่อบ่งบอกเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ
 พูดง่ายๆ จะซูมก็ควรมีเหตุมีผลมีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ
4.ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง หรือซูมก่อนบันทึกภาพ จุดนี้จะช่วยให้
วีดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล อาจจะตั้งกล้อง
ซูมเข้าไปที่เรือจากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วค่อยๆซูมออกมาให้เห็นท้องทะเล

การแพนกล้อง
การแพนกล้องที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน
 จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายมันเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะตัดต่อภาพ
โดยมีภาพทีแกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวามไปมา เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพนิ่งๆจะรู้สึก
ได้เลยว่าไม่เข้ากัน พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา
หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม
คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ
 คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ

การบันทึกเป็นช็อต
ช็อตคือการเริ่มบันทึก เพื่อเริ่มเทปเดินและเริ่มบันทึกลงม้วนเทป จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง
 เพื่อเลิกการบันทึก แบบนี้เค้าเรียกว่า 1 ช็อต การถ่ายเป็นช็อคไม่ควรปล่อยให้ช็อตไม่ควรปล่อยให้
ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก คือไม่ควรเกิน 5วินาทีต่อ 1 ช็อต

วิธีการบันทึกเป็นช็อต
การถ่ายเป็นช็อตนี้ จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้
องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5
แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ
หลักการง่ายๆคือนิ่งๆเข้าไว้ และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ

รูปแบบการบันทึกเป็นช็อต
Shot ในความหมายของระยะการถ่ายทำภาพยนตร์อาจแบ่งจากลักษณะที่ใช้ในการถ่ายทำได้ดังนี้
  ·      1. ELS หรือ Extreme Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกลที่สุด เช่นเห็นเมืองทั้งเมือง
ผืนป่าทั้งป่า หรือทะเลทรายกว้างสุดลูกหูลูกตา ซึ่งเป็นช็อตที่มักพบมากในหนังประเภท Epic
หรือหนังมหากาพย์ที่เล่าเรื่องราวใหญ่โต จึงมีฉากที่แสดงความอลังการ อย่างไรก็ตามในหนังเพื่อศิลปะ
หลายเรื่องการถ่ายภาพในระยะนี้ก็ใช้เพื่อวัตถุ ประสงค์อื่นๆ เช่น ความไม่แน่นอน น่าสงสัย ความโดดเดี่ยว
เปลี่ยวเหงา เช่นหนังของ มิเกลแองเจโล่ แอนโทนิโอนี่
  ·       2. LS หรือ Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกล พื้นที่ที่มากกว่าตัวละครทำให้เราใกล้ชิด
กับฉากหรือทัศนียภาพมากกว่าความ รู้สึก ผลดังกล่าวทำให้ช็อตนี้มักใช้ในหนังเพื่อแสดงบรรยากาศเย็นชา
หรือธรรมชาติที่ดูมีอิทธิพลเหนือผู้คน ในกรณีที่ใช้ถ่ายทำสถานที่เพื่อแนะนำเรื่องว่าเป็นฉากใด
ซึ่งมักเป็นฉากเปิด งานทางด้านภาพยนตร์มักจะถ่ายฉากประเภทนี้เก็บไว้เพื่อความจำเป็นในการเล่า
 เรื่อง มักเรียกว่า Established Shot
  ·       3. MLS หรือ Medium Long Shot ช็อตที่อยู่ระหว่างระยะไกล และระยะ MS มักถ่ายเพื่อเปิด
ให้เห็นบุคคล กับวัตถุประสงค์ที่ต่างกันไป เช่น หมู่คณะหลายคน, ภาพคนกับพื้นที่ปิด หรือพื้นที่เปิด
ซึ่งก็ให้ความหมายของภาพต่างกัน
  ·       4. MS หรือ Medium Shot เป็นช็อตที่ได้รับความนิยมที่สุด เพราะใช้ในการดำเนินเรื่อง
และสนทนา ภาพออกมาอยู่ในระดับที่สบายตา โดยธรรมชาติของช็อตแบบนี้ไม่เน้นอารมณ์ร่วมกับผู้ชม
 แต่เน้นให้เพื่อใช้สำหรับเล่าเรื่อง ฉากการสนทนา บ้างก็เรียกว่า Two Shot คือเป็นช็อตที่ถ่ายให้เห็นคนสอง
คนทั้งตัว ไปจนระดับลำตัวถึงหัว
  ·       5. MCU หรือ Medium Close Up กึ่งกลางระหว่าง MS กับ Close Up เป็นอีกหนึ่งช็อตที่เรามัก
เห็นบ่อยๆ ในการถ่ายทำภาพยนตร์สำหรับผู้ชมวงกว้าง
  ·       6. CU หรือ Close Up ระยะใกล้ เป็นระยะที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกตัวละครเป็นหลัก ไม่ว่าจะโกรธ
 เศร้า ดีใจ และใบหน้าของมนุษย์ยังแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย ช็อตนี้ตัวอย่างที่มักได้รับการกล่าวถึงบ่อยคือ
 City Light ของ ชาร์ลี แชปลิน ตลอดทั้งเรื่องเราเห็นอารมณ์ขันของเขาในระยะไกล หรือระยะกลางภาพ
แต่เมื่อช่วงท้ายต้องการเร้าอารมณ์ตัวละครหลักได้ถูกจับภาพใบหน้าเป็นครั้ง แรก มันจึงส่งผลให้เรา
คล้อยตามได้
  ·       7. ECU หรือ Extreme Close Up ระยะใกล้มาก เป็นระยะภาพที่เน้นความรู้สึกในระดับที่
สูงขึ้นกว่า
 CU เช่น ถ่ายภาพดวงตาในระยะประชิด หรืออวัยวะบางอย่างเพื่อแสดงอากัปกิริยาที่มีนัยยะต่างไป
จากการแสดงออกอย่าง อื่น เพราะการส่งผลทางภาพที่ให้อารมณ์สุดโต่ง เราจึงมักเห็นช็อตนี้ในหนังสยองขวัญ             หนังทดลอง หรือหนังทางด้านศิลปะบ่อยกว่าหนังสำหรับผู้ชมทั่วไป

ข้อดีของการบันทึกเป็นช็อต
ช็อตมุมกว้าง คือบอกให้รู้สถานที่ และให้ได้รู้ว่าเป็นงานอะไร สถานที่ที่ไหน หากว่าถ่ายเห็นป้ายของงงาน
เข้าไปด้วยยิ่งดี การถ่ายแบบนี้ดูเป็นเรื่องเป็นราว บอกเล่าเรื่องราวตามลำดับขั้น ว่ามีใครทำอะไรบ้างไม่ว่าจะ
เป็นงานพิธีหรือถ่ายกันเล่นๆ เพราะว่าภาพจะสลับมุมต่างๆมาให้ชมเป็นระยะทำให้ไม่น่าเบื่อ
ช็อตการแพน การยกกล้องขึ้นลงการซูม การเล่นมุมกล้องแบบต่างๆ หรือเล่นมุมกล้องเอียงก็ทำได้เช่นกัน
แต่ว่าต้องเริ่มต้นด้วยหลักการถ่ายเป็นช็อตๆให้กระชับและไม่ยืดยาดจะทำให้คนดูไม่เบื่อ ที่มีแต่ภาพแข็งๆ
ทื่อๆดูแล้วไม่มีชีวิตชีวา

เทคนิคการเคลื่อนที่กล้องโดยไม่ให้สั่นไหว
        “การไวด์หรือ” Wide Shot” เป็นวิธีที่ช่วยอำพรางการสั่นไหวของกล้องได้ซึ่งแม้ว่ากล้องจะสั่น
ภาพจะไหว แต่ก็ยังไม่เห็นความแตกต่างเพราะว่ามันมีภาพมุมกว้างที่หลอกตาอยู่ ถ้าหากต้องการที่จะ
เดินถือกล้องถ่ายแบบนี้ละก็ จะต้องเลือกระยะกล้องที่ไกลสุด โดยการดึงภาพด้วยการซูมออกมา
เรียกว่าลองช็อต“(Long Shot) เป็นประคองกล้องเดินช้าๆแบบนุ่มนวล โดยไม่ต้องซูมเข้าไปอีก
ควรปล่อยให้เป็นภาพมุมกว้างเข้าไว้
       การเดินก็สำคัญหากมัวแต่เดินจำพรวดทิ้งน้ำหนักตัวแบบเต็มที่แบบนี้ภาพที่ได้จะกระตุกเป็น
จังหวะแน่ๆก็ขอแนะนำให้การเดินถ่ายกล้องนั้นต้องระวังทุกฝีเท้า การเดินด้วยปลายเท้า เกร็งและ
ย่อขาเล็กน้อยจะช่วยให้กล้องนิ่งและมั่นคงขึ้น ช่วยให้เดินถ่ายวิดีโอได้อย่างมีคุณภาพ ภาพที่ได้จะ
นิ่งการถือกล้องแบบแบกบ่า บางครั้งอาจจะไม่ถนัดสำหรับเดินถ่ายเสมอไป สามารถแก้ไขด้วยการ
ลดกล้องมาอยู่ในมือ ในอ้อมแขนนั้นจะเป็นการดี เพราะช่วยประคองกล้องได้อีกชั้นด้วยซ้ำไป แถม
อาจจะได้มุมที่แปลกตาไปจากการแบกบนบ่า
การถ่ายให้กระชับ
      การถ่ายให้กระชับ หมายความว่า การถ่ายวิดีโอที่พยายามให้ภาพนั้นสื่อความหมายในตัวเองมากที่สุด
 โดยสามารถเล่าเรื่องราวได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร นี่จะช่วยให้เราไม่ต้องเก็บภาพมามากมายและ
ยืดยาว ก็สามารถเข้าใจได้ว่าในเหตุการณ์นั้นๆเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ระบบวีดีโอในปัจจุบัน
     ระบบวีดีโอ มีความสัมพันธ์กับการนำไฟล์วีดีโอไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งไฟล์วีดีโอนั้นต้อง
นำไปเปิดกับโทรทัศน์ หรือเครื่องเล่นอื่นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าของระบบในวีดีโอในขั้นตอน
การตัดต่อด้วย ซึ่งแต่ละประเทศจะใช้ระบบไม่เหมือนกัน คือ
       - ระบบ PAL เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง แต่การเคลื่อนไหวไม่ค่อยราบรื่น โดยมีอัตราการแสดงภาพ
 (Frame Rate) 25 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในหลายประเทศ โดยประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
      - ระบบ NTSC เป็นระบบที่มีความคมชัดสู้ ระบบ PAL ไม่ได้ แต่การเคลื่อนไหวของภาพจะ
ราบรื่นกว่าระบบPAL เพราะมีอัตราการแสดงภาพ( Frame Rate ) 29.79 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ที่ประเทศญี่ปุ่น
และอเมริกา
      - ระบบ SECAM เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง การเคลื่อนไหวของภาพมีความราบรื่น
มีอัตราการแสดงผล (Frame Rate ) 25 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในแถบแอฟริกา

รู้จักกับฟอร์แมตของไฟล์วีดีโอประเภทต่างๆ
           - AVI เป็นไฟล์มาตรฐานทั่วไปของไฟล์วีดีโอ มีความคมชัดสูง แต่ข้อเสียคือมีขนาดใหญ่
สามารถนำไปทำเป็นวีซีดี หรือดีวีดี ก็ได้ โดยผ่านกระบวนการบีบอัดไฟล์ของโปรแกรมนั้นๆ
เช่น Nero , NTI
          - MPEG เป็นฟอร์แมตของไฟล์วีดีโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากไฟล์มีขนาดเล็ก
 และมีคุณภาพที่หลากหลาย ตั้งแต่คมชัดที่สุด ไปถึงอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ โดยมีหลายรูปแบบดังนี้

         - MPEG – 1 เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ทำวีซีดี โดยมีขนาดที่เล็กมากที่สุด – MPEG – 2 เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ทำดีวีดี โดยไฟล์มีขนาดใหญ่ (แต่ไม่เท่า AVI) แต่คุณภาพในการแสดงผลมีความคมชัดสูง – MPEG – 4 เป็นไฟล์ที่กำลังได้รับความนิยมมากชึ้น เนื่องจากมีคุณภาพในการแสดงผลใกล้เคียงกับดีวีดี แต่เป็นไฟล์ขนาดเล็ก นิยมนำไปใช้ในโทรศัพท์มือถือ , อินเตอร์เน็ต – WMV เป็นฟอร์แมตมาตรฐานของ Windows มีคุณภาพที่ดีฟอร์แมตหนึ่ง นิยมนำมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต – MOV เป็นฟอร์แมตของโปรแกรม Quick Time ที่ใช้กับเครื่อง Apple แต่สามารถเปิดในWindows ได้เช่นกัน – 3GP เป็นไฟล์ขนาดเล็ก นิยมใช้ในโทรศัพท์มือถือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น