วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เกี่ยวกับหนังสั้น

ประวัติหนังสั้น
หนังสั้นโดยเปรียบเทียบกับเรื่องสั้นในความหมายของหนังสั้นที่ยึดถือตามธรรมเนียมปฏิบัติคือ หนังที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาที มีรูปเเบบหรือสไตล์หลากหลาย ทั้งที่ใช้การเเสดงสด(Live action film)หรือ แอมนิเมชั่น(animited film) ก็ได้
การกำหนดความยาวของหนังสั้นด้วยเวลาที่เเน่นอน เพราะเนื่องจากหนังที่มีความยาวเกิน 30 นาที จะมีรูปเเบบของการเข้าถึงตัวละครเเละโครงเรื่องต่างจากหนังสั้นที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาที หนังที่มีความยาวตั้งเเต่ 30-60 นาที จะมีโครงเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการกำหนดอารมณ์ของคนดูว่าตอนไหนควรเร่งรีบ ตอนไหนควรทิ้งหรือถ่วงเวลาเพื่อให้คนดูสนุกสนาน ส่วนหนังสั้นมีเวลาจำกัดไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์หรือเล่นอารมณ์กับคนดูได้มากนักจึงต้องเข้าถึงตัวละครอย่างรวดเร็ว เเละทำโครงเรื่องให้ง่ายไม่ซับซ้อนเพื่อให้คนดูเข้าใจเรื่องได้ในเวลาที่จำกัด
พัฒนาการของภาพยนตร์สั้น
ปัจจุบันหนังสั้นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้กลายเป็นหนังบันเทิงเรื่องยาว หนังเรื่องเเรกเท่าที่มีการค้นพบ เป็นหนังสั้นของ Edison มีความยาวประมาณ 50 ฟุต เป็นเเอ็คชั่นของการจามเรื่อง Fred Ott’s Sneeze (1894) ถ่ายด้วยกล้อง Kinetograph การสร้างหนังในช่วงเเรก เป็นหนังสั้นทุกเรื่อง เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
ภาพยนตร์ในสมัยนั้นได้รับความสนใจมาก เเละเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ดีทำให้บริษัทของ Edison เเละบริษัทอื่นๆรวมทั้งบริษัท Mutoscope เเละ Biograph เริ่มต้นที่จะรวมตัวกันผูกขาดกิจการค้า โรงหนัง Pittsburgh ในปี 1905 ซึ่งโรงหนังนี้ทำให้มีคนดูหนังมากขึ้น ธุรกิจหนังสั้นในยุคนั้นจึงเฟื่องฟูขึ้น ในปี 1908 อิตาลีสร้างหนังประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่มีความยาว 5 ม้วน D.W. Griffith ได้รับอิทธิพล การสร้างหนังที่มีความยาวขึ้น ซึ่งเเต่เดิมการสร้างภาพยนตร์เรื่องยาว เขามีความพยายามสร้างอยู่เเล้วโดยสร้างให้ยาวมากขึ้นเรื่อยๆจาก 1 ม้วนเป็น 2 ม้วน เช่นเรื่อง Enoch Arden (1991) เเม้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เเละถูกคัดค้านไม่เห็นด้วยจากผู้อำนวยการสร้าง เเต่ในที่สุดเมื่อเขาชมภาพยนตร์ที่มีความยาวของอิตาลี จึงเป็นเเรงให้เขามีเเรงบันดาลใจในการสร้างหนังยาวถึง 4 ม้วน ในเรื่อง Judith  of Bethulia (1914) ซึ่งเป็นหนังที่มีความยาวมากครั้งเเรกของประวัติศาสตร์การสร้างหนังของ Hollywood เป็นเรื่องสำคัญเรื่องสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มสร้างหนังบันเทิงเรื่องยาว คือ The Birth of a Natoin (1915) อันเป็นจุดเริ่มต้นบรรทัดฐานการสร้างหนังบันเทิงที่มีความยาวในปัจจุบัน เเม้ว่าหนังบันเทิงที่มีความยาวมากขึ้นจะได้รับความนิยม เเต่หนังสั้นก็ยังคงผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง มีผู้กำกับหนุ่ม Mack Scnnett ที่ไม่สามารถผลิตหนังตลกให้กับบริษัทของ Edison หรือ Biograph ได้อีกต่อไปจึงออกมาสร้างบริษัทสร้างภาพยนตร์อิสระของตนเอง ชื่อบริษัท Keystone Picture ผลิตหนังสั้นตลก ต่อมาในปี 1913 นักเเสดงชาวอังกฤษ Charlie Chapplin ได้ร่วมกับบริษัทของ Sennett สร้างหนังสั้นตลกยิ่งใหญ่ออกมาอีกหลายเรื่อง เช่น The Tramp (1915) , One A.M. (1916), Easy Street (1917), เเละ A dog’s Life (1918) หนังสั้นตลกของเขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการวิพากษ์สังคมโดยผ่านตัวละครโง่เขลา จนในที่สุดกลายมาเป็นเเบบอย่างให้กับนักเเสดงตลกที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ตามมา เช่น Buster Keaton เเละ Laurel and Hardy
ความหมายของหนังสั้น
หนังสั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้นๆ แต่ได้ใจความ
ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา
สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้ เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น
และเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์ การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรการเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละคร และแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้นการคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละคร และแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่าสิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

Pre - Production(การเตรียมงานถ่าย)
 Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย)

ในการทำหนังสั้น นะครับ จะมีขั้นตอน หลักอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน นั่นก็คือ
Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย)
Production (การถ่ายทำ)
Post - Production (ช่วงเก็บรายละเอียด - ตัดต่อ)

ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย) กันนะครับว่ามีกระบวนการอะไรบ้าง

หลายคนที่เคยทำหนังสั้น หรือ ยังไม่เคยนะครับ เชื่อว่าต้องผ่านกระบวนการนี้นั่นก็คือการเขียนบท การเขียนบทนั้นก็จะมีขั้นตอนในการเขียนดังนี้

Theme>Plot>Outline>Treatment>Screenplay

Theme คืออะไร
   Theme  คือแก่นของเรื่อง  เรื่องเล่าถูกกำหนดให้มองผ่าน ธีม (theme) เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนของเรื่อง และส่งผลต่อการพัฒนาเรื่องเป็นบทภาพยนตร์ต่อไป
Plot คืออะไร
   Plot คือโครงเรื่อง หมายถึงการกำหนดผ่านรายละเอียดสำคัญ (ตัวละครหลัก , ปมขัดแย้งสำคัญ) หรือ เข้าใจง่ายๆ คือ การเขียนเรียงความนั่นเอง
Plot จะมีโครงสร้างง่ายๆ คือ หลัก 3 องค์
องก์ที่ 1 = เปิดเรื่อง สร้างโลก ปูพื้น และ ปมปัญหา
องก์ที่ 2 = ดำเนินเรื่องการเผชิญหน้า และทางออก ของปมปัญหา
องก์ที่ 3 = climax  การแก้ปมปัญหา และบทสรุป 

ตัวอย่างการเขียน Plot 

   "ชายหญิงสองคน กำลังเข้านอนแต่สายตาของ ชายได้เห็นเงาดำๆผ่านหน้าต่างไป ชายหนุ่มได้บอกกับแฟนสาวแต่เธอดูจะไม่สนใจ แล้วก็บอกให้ชายหนุ่มเข้านอน ทั้งคู่หลับไปเงาดำนั้นก็ผ่านมาอีกแต่ครั้งนี้ดูใกล้กว่าเดิม ชายหนุ่มสะกิดแฟนสาวแต่เธอก็ไม่สนใจ เพราะอยากจะนอนแล้ว ชายหนุ่มเผลอหลับไป เงาดำนั้นก็เข้ามาใกล้ห้องแท้จริงแล้วเงาดำนั้นคือโจรที่ย่องมาจะขโมยของในห้อง หญิงสาวลุกออกไปเข้าห้องน้ำ โจรอาศัยมุมมืดพลางตัวทำให้เธอไม่ทันสังเกตุ โจรย่องไปเข้าห้อง ชายหนุ่มรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างเข้ามา ลุกขึ้นมามองทั่วๆแล้วหันไปสะกิดแฟนสาวแต่เธอไม่อยู่ ชายหนุ่มคิดแต่ว่าเค้าต้องโดนผีหลอกแน่แล้ว รีบเปิดไฟแต่ตรงสวิทไฟ เป็นโจรอยู่พอดี โจรรีบดับไฟ ชายหนุ่มยิ่งคิดว่าเป็นผี แฟนสาวกลับเข้ามาเห็นชายหนุ่ม ตกใจจึงเปิดไฟ เห็นโจรอยู่ตรงหนัา ทั้ง3ตกใจ โจรไหวตัวทันวิ่งหนีออกไป"

Outline คืออะไร
   Outline เป็นขั้นตอนต่อเนื่องของการพัฒนาบทภาพยนตร์จากโครงเรื่อง(Plot) มาเป็น Outline ใช้วิธีการเขียนที่เน้นบอกเรื่องราวผ่านตัวละครและเหตุการณ์สำคัญในแต่ละฉาก โดยเรียงลำดับฉากแรกจนถึงฉากสุดท้าย
ตัวอย่างการเขียน Outline
   1.ชายหนุ่มกำลังเดินไปหาแฟนสาวของเขาแต่สายตาของเขานั้นได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ แต่แฟนสาวไม่สนใจ 
   2.เมื่อทั้งคู่กำลังจะนอน ชายหนุ่มก็เห็นเงาดำนั้นอีกแต่แฟนสาวของเขาก็ยังไม่เชื่อที่ชายหนุ่มบอก
Treatment คืออะไร
   Treatment หรือ บทภาพยนตร์แบบโครงร่าง 
- การเขียนบรรยายรายละเอียดที่เกิดขึ้นในแต่ละฉากภาพยนตร์
- การเขียนแสดงรายละเอียดสำคัญที่ประกอบด้วย ชื่อตัวละครสำคัญ ทำอะไรในฉากนั้น ทำด้วยความรู้สึกอย่างไร ทำไมต้องทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น และส่งผลกระทบต่ออะไร
- การเขียนโดยรู้ว่าต้องการระบุประเด็นสำคัญในแต่ละฉากภาพยนตร์ อะไรคือประเด็นสำคัญที่ต้องบอกในฉากนั้นๆ

การเขียน Treatment ต้องเขียนผ่าน Scene 
Treatment ไม่เหมือน Outline เพราะ outline เขียนโดยย่อเพื่อระบุเหตุการณ์ในแต่ละฉากภาพยนตร์ แต่ Treatment คือการเขียนเพื่อแสดงรายละเอียดสำคัญในฉากภาพยนตร์ และเขียนเพื่อบรรยายอารมณ์ในฉากนั้นๆ

ตัวอย่างการเขียน Treatment 
Scene 1 ภายใน/ห้องนั่งเล่น/กลางคืน
หนึ่งชายหนุ่มที่ขี้เซา เป็นคนที่ไม่เคยจริงจังกับเรื่องอะไรแม้แต่แฟนของเค้า หนึ่งเดินมาที่ห้องนั่งเล่นเพื่อจะพาใหม่แฟนสาวของเค้าไปเข้านอน เมื่อหนึ่งเดินมาถึงสายตาของเขาได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ ลักษณะเหมือนคนผ่านที่หน้าต่างไป หนึ่งแปลกใจว่าเงานั้นคืออะไร ในใจก็คิดไปต่างๆนาๆว่าจะเป็นผีหรือขโมย หนึ่งบอกใหม่แต่ใหม่ก็รู้ว่าหนึ่งไม่เคยพูดอะไรจริงจังจึงรีบให้หนึ่งเข้านอนไป

Screenplay คืออะไร
   Screenplay เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากพัฒนาบทภาพยนตร์จาก Treatment มาเป็น Screenplay จะมีรายละเอียดเหมือนกับ Treatment แต่จะเพิ่มเป็น บทพูด(Dialog) เพื่อให้นักแสดงใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ 
ตัวอย่างการเขียน Screenplay 
Scene 1 ภายใน/ห้องนั่งเล่น/กลางคืน
หนึ่ง ชายหนุ่มที่ขี้เซา เป็นคนที่ไม่เคยจริงจังกับเรื่องอะไรแม้แต่แฟนของเค้า หนึ่งเดินมาที่ห้องนั่งเล่นเพื่อจะพาใหม่แฟนสาวของเค้าไปเข้านอน เมื่อหนึ่งเดินมาถึงสายตาของเขาได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ ลักษณะเหมือนคนผ่านที่หน้าต่างไป หนึ่งแปลกใจว่าเงานั้นคืออะไร ในใจก็คิดไปต่างๆนาๆว่าจะเป็นผีหรือขโมย หนึ่งบอกใหม่แต่ใหม่ก็รู้ว่าหนึ่งไม่เคยพูดอะไรจริงจังจึงรีบให้หนึ่งเข้า นอนไป
ภาพยนตร์ จะต้องมีการประชุมงาน เพื่อแบ่งหน้าที่ต่างๆเช่น
ผู้กำกับ Director
ผู้ช่วยผู้กำกับ Assistant Director
ผู้กำกับภาพ Director of Photography
ผู้กำกับศิลป์ Art Director
และฝ่ายต่างๆอีกมากมาย

ในขั้นตอนนี้ ผู้ช่วยผู้กำกับ เป็นคนดำเนินงานซะส่วนใหญ่ จะมีขั้นตอนดังนี้
นัดประชุมทีมงาน
ก่อนที่จะถ่ายทำภาพยนตร์ จะต้องมีการประชุมเพื่อคุยรายละเอียดต่างๆ ผู้กำกับจะอธิบายบทให้ทีมงานเข้าใจ และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรก็ควรจะเสนอแนะกันในตอนประชุม เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมทุกคนก็จะต้องทำหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย
หาสถานที่ถ่ายทำ(Location)
เมื่อบทภาพยนตร์พร้อมถ่าย ผู้กำกับต้องการสถานที่แบบไหน ทีมงานก็จะต้องหาสถานที่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้กำกับเพื่อให้ดูสมจริง น่าเชื่อถือ และออกมาสวยงาม
หานักแสดง(Casting)
การหานักแสดงต้อง ให้บุคลิกของตัวละครออกมา ตามที่ผู้กำกับต้องการ
เตรียมอุปกรณ์ประกอบฉาก
หน้าที่นี้จะเป็นของผู้กำกับศิลป์ที่จะต้อง ดูบทแล้วทำเข้าใจ ต้องดูว่าฉากไหนต้องมีอุปกรณ์แบบไหนอยู่ในฉาก แล้วจัดเตรียมไว้สำหรับการถ่ายทำที่จะเกิดขึ้น และต้องเป็นไปตามที่ผู้กำกับต้องการ ในบางฉากอาจจะต้องเตรียมไว้สำรองเช่น หมวกที่จะต้องเลาะเลือด เพราะอาจจะเกิดการพลาดแล้วต้องถ่ายใหม่ เพราะฉนั้นจำเป็นที่จะต้องเตรียมอุปกรณ์ไว้สำรองเพื่อทดแทนกันได้
การWorkshop ทีมงาน นักแสดง 
หากการถ่ายทำต้องมีเทคนิคพิเศษ เช่น ฉากแอคชั่นต้องมีระเบิด ฉากนักแสดงถูกรถชน ต้องมีการมาเตรียมก่อนว่าจะใช้เทคนิคอย่างไร ทีมงานจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่นี้ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
ส่วนนักแสดง ก็ต้องมาพบปะพูดคุยกัน เพราะส่วนใหญ่แล้วนักแสดงจะไม่รู้จักกัน ก็จะต้องมาพูดคุย ซ้อมบทคร่าวๆ เพื่อจะได้ไม่เขินอายในวันที่ถ่ายจริง
กำหนดวันถ่ายทำภาพยนตร์
ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้อง ดูว่าทุกฝ่ายว่างตรงกันเมื่อไร วันที่ถ่ายเหมาะสมกับสภาพ ลม ฟ้า อากาศ หรือไม่ เหมาะสมกับสถานที่ ที่จะไปถ่ายทำหรือไม่ เช่น ถ่ายฉากในโรงเรียน หากต้องการความสงบก็ควรจะถ่ายในวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ถ้าต้องการให้เห็นบรรยากาศของนักเรียนก็ควรจะถ่ายวันจันทร์-ศุกร์

การเขียนบทหนังสั้น

  1. 1. การ เขียน บท หนังสัน ้ การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นามาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราว หรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ
  2. 2. 1. Research 2. Theme 3. Plot 4. Synopsis 5. Treatment 6. Scenario 7. Paradigm 8. Screenplay 9. Shooting script 10. Storyboard
  3. 3. Research ต้องยอมรับว่า คนทาหนังสั้น ส่วนใหญ่จะละเลยในขั้นตอนนี้ ซึ่งที่ จริงแล้วเป็นสิ่งสาคัญ หนังเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์ เราเกี่ยวข้อง กับอะไรบ้าง? นั่นแหละคือสิ่งที่ตัวละครเกี่ยวข้อง การ research เป็นการหารายละเอียดของตัวละครมาหาใส่ ที่จริงการ research ไม่มี format จุดประสงค์คือเก็บเกี่ยวข้อมูลของตัวละครให้ ได้มากที่สุด สร้างเป็นประวัติของตัวละคร
  4. 4. research 1.ชื่อ 2.อายุ 3.ภูมิลาเนาวิถีชีวิตของคน 4.ระดับการศึกษาจะมีผลต่อวุฒิภาวะของตัวละคร 5.อาชีพเป็นปัจจัยที่สร้างตัวตนของตัวละครที่ชัดเจน 6.ฐานะการเงินเป็นพื้นฐานชีวิตของตัวละคร 7.กลุ่มทางสังคม 8.ตัวละครพิเศษ 9.ความต้องการในชีวิต
  5. 5. Theme แก่น ใจความสาคัญ แนวคิดหลัก สาร ประเด็น ฯ หนังสั้นที่ได้ผลดี ควรจะมี theme เพียงหนึ่งเดียว คือมีประเด็นหลัก ที่ต้องการจะสื่อสารเพียงหนึ่งสิ่ง การเขียน theme ไม่ได้ต้องใช้คาสวยหรู ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจ ยาก ไม่ต้องเป็นปรัชญา ไม่จาเป็นต้องเป็นแนวคิดสากล เป็นแนวคิดส่วนตัว ก็ได้ เพียงแต่เราต้องมีความเชื่อในแนวคิดนั้นๆ และมีมุมมองที่จะนาเสนอ
  6. 6. Theme รูปแบบ หรือ format ของ theme มักจะเป็น ประโยคสั้นๆที่มีความชัดเจน theme เป็นประเด็นหรือแนวคิดสาคัญ ที่คนเขียนบทต้องการจะบอก โดยหาสถานการณ์ต่างๆมารองthemeนั้นๆ บางคนก็เอามาจากสานวน สุภาษิต คาพังเพย เช่น กล้านักมักบิ่น ฆ่าควาย อย่าเสียดายพริก ปล่อยเสือเข้าป่า จากคาคม เช่น “Praise the bridge that carried you over.” – George Colman “Well done is better than well said.” - Ben Franklin -
  7. 7. Plot การเขียนพล็อตเปรียบเสมือนการทาแผนที่ แผนผัง การทาพล็อตหนังสั้น มี 3 จุด (Acts) คือ 1.จุดเริ่มต้น อย่างน้อยควรรู้ว่าตัวละครคือใคร 2.จุดหักเห คือสถานการณ์ที่ตัวละครนั้นเจอ ในหนังสั้นมักจะเป็น สถานการณ์ที่ไม่ซับซ้อนนัก เป็นปัญหาที่ชัดเจนที่สุดของตัวละคร 3.จุดจบ คือสถานการณ์ที่เป็นจุดเข้มข้นสุดของเรื่อง ก่อนที่จะคลี่คลาย หรือจบลง
  8. 8. Synopsis Synopsis ว่า เรื่องย่อ รูปแบบการเขียน synopsis ของหนังสั้น มักจะเป็นความเรียง เล่าเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบอย่างย่อ มีความยาวประมาณ 5-6 บรรทัด เล่าตัวละครและเหตุการณ์เพื่อสรุปว่า ใคร ทาอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ฯ ด้วยมุม Objective ของคนเขียนบทเอง คล้ายๆกับการเขียน เรื่องย่อบนปกหลังกล่อง vcd แต่อย่างที่บอก ไม่ต้องกั๊กตอนจบ ในขั้นนี้ แนะนาให้เขียนเรื่องให้ได้ 3 ย่อหน้า (เหมือนเขียนเรียงความ มีคานา เนื้อเรื่อง สรุป) โดยยึดจากหลักการเขียนplot อาจจะเป็น ย่อหน้าของจุดเริ่มต้น 2 บรรทัด ย่อหน้าของจุดหักเห 3 บรรทัดและ ย่อหน้าของจุดจบ 1 บรรทัด
  9. 9. Treatment ในการเขียนบท หมายถึงโครงเรื่องขยาย คือมีการเขียนคาอธิบาย ขยายเนื้อเรื่องชัดเจนมากขึ้น เหมือนรูปแบบของนวนิยายหรือเรื่องสั้น มีการ บรรยายรายละเอียดต่างๆที่จาเป็นต่อการเล่าเรื่อง เช่น ชื่อตัวละคร ลักษณะ ตัวละคร สถานการณ์ต่างๆ สถานที่ วัน เวลา เหตุผลของตัวละคร ฯ แต่ยังไม่มี บทสนทนา (นอกจากว่า จะเป็นประโยคสาคัญ) treatment หนังสั้น มักมีความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 เป็นบทที่นิยมมอบให้คนอื่นอ่าน เพราะจะมีรายละเอียดที่มากพอจะ เล่าเรื่องได้สมบูรณ์แล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงมักตั้งชื่อตัวละครไปด้วย อย่างที่เคย กล่าวมาว่า ชื่อตัวละครของหนังสั้นที่ดี ควรจะสื่อถึง character ด้วย
  10. 10. Scenario Scenario เป็นขั้นตอนต่อมาจาก treatment มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งฉากของ treatment ให้เห็นเป็น scene ชัดเจน และนิยมเขียนเป็นข้อๆว่า ใน scene เกิดอะไรขึ้นบ้าง เพื่อ คานวณความยาวของแต่ละฉาก และคะเนได้ว่าทั้งเรื่องจะยาวเท่าไหร่ สานวนการเขียนจะรวบรัด และใช้ภาษาอธิบายเหตุการณ์ การแสดง มากกว่าอธิบายความคิด หรืออารมณ์ตัวละคร ในขั้นการเขียน scenario จะมีการเขียนหัวฉาก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  11. 11. Scenario 1.Scene Number เขียนว่า ฉาก1 หรือ Scene1 หรือ run เป็นตัวอักษร ตามแต่ถนัด
  12. 12. Scenario 2. ระบุว่าเป็นฉากภายนอกหรือภายใน ฉากภายนอก หมายถึง ฉากที่อยู่กลางแจ้ง ภายนอกจากอาคารหรือสิ่ง ปกคลุม นิยมเขียนว่า ภายนอกหรือ Exterior หรือ Ext. ฉากภายใน หมายถึง ฉากที่มีฝาผนังอย่างน้อย 1 ด้าน ภายใน อาคาร อุโมงค์ใต้ดิน ในรถ ในบ้าน นิยมเขียนว่า ภายในหรือ Interior หรือ Int.
  13. 13. Scenario 3. ชื่อฉาก หมายถึง ชื่อสถานที่นั้นๆ เช่น ห้องฉุกเฉิน สถานีตารวจ ออฟฟิศฯ (ให้เขียนชื่อสถานที่ตามเนื้อเรื่อง ไม่ใช่ชื่อ Location จริง)
  14. 14. Scenario 4. เวลา ให้เขียนเวลาตามเนื้อเรื่อง นิยมเขียน กลางวัน, กลางคืน หรือ Day, Night แต่ถ้าจะระบุช่วงเวลาละเอียดกว่านั้นก็ได้ เช่น เช้าตรู่, เที่ยง, โพล้เพล้
  15. 15. Paradigm เป็นขั้นตอนที่สาคัญขั้นตอนหนึ่งที่ช่วยสรุปจังหวะของการเขียนบท ที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร ถอยออกมา แล้วมองเรื่องทั้งเรื่อง เป็นจังหวะหรือ step ของการดาเนินเรื่อง ขั้นตอนนี้ จะเน้นไปที่การวิเคราะห์และตีความ คุณสมบัติหรือหน้าที่ ของแต่ละฉาก ว่าอะไรขาด อะไรเกิน การเล่าเรื่อง เล่าอารมณ์ มันเป็ยังไง เราต้องสรุปได้ว่า ฉากนั้นๆ มีประโยชน์อย่างไร จะได้แก้ไขก่อนจะเข้าสู่ Screenplay
  16. 16. Screenplay คือบทภาพยนตร์ที่ เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมี ขั้นตอน ประกอบด้วย ตัวละครหลัก บทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกากับช็อต และโดยหลักทั่วไป บทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
  17. 17. Shooting script เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทาจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตาแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีเลขลาดับช็อตกากับไว้ โดยเรียงตามลาดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
  18. 18. Storyboard คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือ การ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์ มีคาอธิบายภาพ ระบุเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสาหรับการถ่ายทา หรือใช้เป็นวิธีการ คาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทาว่า เมื่อถ่าย ทาสาเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
  19. 19. Storyboard Walt Disney นามาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัท เป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้า ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลาดับช็อตกากับไว้ มีคาบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
  20. 20. Referent http://www.slideshare.net/duangsuwunlasadang/1storyboard?from_search=10 http://www.moralmedias.net/index.php?option=com_content&task=view&id=33&Itemid=39 http://www.slideshare.net/ciellauren/storyboarding-1412888 http://samforkner.org/source/dirshortfilm.html http://www.youtube.com/watch?v=mYnsKATCrdw http://chas-m.blogspot.com/
  21. 21. The End
  22. อ้างอิง http://www.slideshare.net/wichaikramutkan/ss-28827667
เทคนิคการถ่ายวีดีโอให้นิ่งที่สุด โดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง
dvd810
ส่วนใหญ่แล้วช่างภาพวีดีโอมือสมัครเล่นทั่วไป จะชอบถือกล้องในแบบที่ถนัดที่สุด แบบที่สบายที่สุด และแบบที่ถือแล้วไม่เมื่อย แต่มุมมองที่ออกมา ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แถมภาพสั่นยังกะอยู่ในคลื่นกลางทะเล วิธีที่จะทำให้วีดีโอนั้นไม่สั่นก็ต้องใช้ขาตั้งกล้องนะครับ ขาตั้งกล้องช่วยได้มากทีเดียว และต้องเป็นหัวแพนด้วย ถ้าเป็นหัวบอล ใช้สำหรับกล้องถ่ายภาพนิ่งนะครับ แต่ถ้าเกิดว่าเราไปเที่ยว ถือแค่กล้องถ่ายวีดีโอไปตัวเดียว ไม่อยากเอาขาตั้งกล้องไปด้วย มันใหญ่และเกะกะมาก ผมมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆครับ ที่จะทำให้ได้มุมมองที่สวย และจับถือได้นิ่งมากๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเลย ขั้นตอนแรกนะครับ ให้ท่านจับกล้องด้วย 2 มือ กุมกล้องไว้ในมือทั้ง 2 จากนั้นยืดแขนออกไปให้สุด เพื่อฟิตกล้ามเนื้อก่อน ซัก 3-5 รอบ แล้วก็เอากล้องมาชิดที่หน้าท้อง ติดหน้าท้องเลยนะครับ ดันให้แน่นๆ เสยมุมกล้องขึ้นบนนิดหน่อยพอสวยงาม จากนั้นก็บิดจอ LCD ขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้มองเห็นจอภาพถนัดๆ จากนั้นก็กด Record ได้เลย ในระหว่างที่ถ่ายอยู่ ต้องใช้มือทั้ง 2 ที่กุมกล้องอยู่ ดันกล้องให้ติดหน้าท้องนะครับ รับรองได้ว่า วีดีโอที่ออกมา สวยและนิ่งใช้ได้เลยครับ แต่ถ่ายไปนานๆ จะรู้สึกเมื่อยนะครับ เพราะต้องกดกล้องเข้าหาหน้าท้องตัวเองอยู่ตลอดเวลา หากถ่ายนานๆใช้ขาตั้งหรือโต๊ะ หรือหาอะไรที่มันพอจะวางกล้องได้มันจะดีกว่านะครับ ลองเอาเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้กันดู หวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับสมาชิกทุกท่านครับ
เทคนิคการถ่าย
1. อย่าถ่ายแช่นานเกินไป
2.อย่ายกกล้องไปมาแทนสายตา
3.ถ้าเหตุการณ์นั้นยังไม่สิ้นสุด อย่าหยุดถ่ายกลางคัน
4.อย่าZoom หรือ Pan ขณะถ่าย บ่อยเกินไป
5.หาจุดจบที่ทำให้สนใจ
6.พยายามมองหาจุดที่น่าสนใจรอบๆตัวเพื่อจะได้ไม่พลาดเหตุการณ์สำคัญ
หลักการง่ายๆแค่นี้ ท่านก็จะได้ภาพที่ดูดี ระดับมืออาชีพแล้ว
7. ถือกล้องให้นิ่ง อย่าสั่น เทคนิคง่ายๆคือกลั้นหายใจ หรือหายใจเบาๆ ขณะที่กด record